เราได้พูดถึงเรื่องของ Computational Thinking (CT) แบบภาพรวมกันไปเมื่อบทความก่อนหน้านี้แล้ว (https://link.beyondcodeacademy.com/ct) คราวนี้จะขอลงลึกถึงองค์ประกอบขั้นพื้นฐานในการสร้างฐานทักษะของ Computational Thinking หรือที่เรียกสั้นๆ ว่า CT กันแบบละเอียด เพราะเชื่อเลยว่าการทำความเข้าใจกับวิธีปฏิบัติ ไปจนถึงผลลัพธ์ของการสร้างทักษะแบบ CT ผ่านการเรียน coding นั้นมีประโยชน์ต่อตัวผู้เรียนและพ่อแม่ผู้ปกครองเป็นอย่างมาก และหากจะพูดถึงองค์ประกอบของ CT นั้น ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า Jeannette Wing ถือเป็นบุคคลที่ทำกระแสความสนใจในเรื่องของ CT และคอนเซ็ปต์ในการเรียนรู้ผ่านการ coding, programming และ algorithmic thinking กลับมามีบทบาทที่สำคัญอีกครั้ง จนปัจจุบันถือว่า CT นั้นเป็นทักษะขั้นพื้นฐานสำหรับคนรุ่นใหม่ในการดำเนินชีวิตเลยทีเดียว ซึ่งหลายงานวิจัยและหลายหลักสูตรของ CT นั้นมักจะอ้างอิงถึงวิธีการคิดของ Jeannette Wing ในการสร้างหลักสูตรสำคัญๆ อีกด้วย
ดังนั้นเราลองมาดูองค์ประกอบหลักในการสร้างทักษะการคิดแบบ Computation Thinking (CT) ซึ่งมีทั้งหมด 4 องค์ประกอบด้วยกัน คือ
1.Decomposition
2.Pattern Recognition
3.Abstraction
4.Algorithm
โดยในบทความนี้จะขออธิบายแบบเจาะลึกถึงขั้นตอนของ Decomposition และ Pattern Recognition ซึ่งพ่อแม่ผู้ปกครองควรทำความเข้าใจก่อนที่จะเริ่มเตรียมความพร้อมในการสร้างทักษะชีวิต ให้กับลูกรักเผชิญกับโลกยุคใหม่อย่างอย่างแข็งแกร่งทั้งทางด้านสติปัญญาและด้านจิตใจอีกด้วย
1.Decomposition เป็นกระบวนการในการแตกปัญหาที่สลับซับซ้อนออกมาเป็นข้อย่อย ซึ่งบอกเลยว่านำมาปรับใช้ในชีวิตจริงได้ไม่ยากเลย ลองนึกถึงวันที่ตัวเราเองเผชิญกับปัญหาใหญ่จนกังวลว่าจะแบกรับและจัดการกับปัญหานั้นอย่างไร ซึ่งหากเราได้เรียนรู้วิธีการ decomposition ก็จะสามารถจัดการกับปัญหาที่ยากซับซ้อน และยังช่วยลดความสับสนลงได้ โดยเริ่มต้นด้วยการแบ่งปัญหาใหญ่ๆ หรือปัญหายากๆ เหล่านั้นให้เล็กลง เพราะพอปัญหาเหล่านั้นเล็กลงแล้ว เราจะมองได้ทะลุปรุโปร่งและค่อยๆ จัดการแก้ไขได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น การที่จะสร้างทักษะนี้ให้ได้ผล ควรให้โจทย์ที่มีความท้าทาย ไม่ง่ายจนเกินไป ที่สำคัญโจทย์ปัญหาจะต้องชัดเจน เพราะจะทำให้ผู้เรียนเข้าใจว่าผลลัพธ์ที่ต้องการคืออะไร บอกได้เลยว่าขั้นตอนของการ decomposition ถือว่าเป็น life skills ที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งที่คนในยุคปัจจุบันควรมีติดตัว
ตัวอย่างในชีวิตประจำวัน อย่างที่บอกว่า decomposition นั้นถือเป็น life skills อย่างหนึ่งเลย แต่ถ้ายังนึกไม่ออกลองนึกถึงปัญหาอย่างง่ายๆ เช่น การเรียนรู้ decomposition ผ่านการแปรงฟัน ก่อนที่เด็กๆ จะเริ่มแปรงฟัน ลองจำลองโจทย์ให้คิดแบบนี้ดู
· ควรใช้แปรงสีฟันแบบไหน (แปรงเล็กสำหรับเด็ก แปรงใหญ่สำหรับผู้ใหญ่ แปรงสำหรับคนที่จัดฟัน)
· ควรจะแปรงฟันนานแค่ไหน (ฟันปกติ ฟันผุ จัดฟัน ใช้เวลาเท่ากันไหม)
· ควรออกแรงแปรงฟันขนาดไหน (แปรงเบาๆ หรือแปรงแรงๆ แบบไหนดีต่อฟัน)
· จะใช้ยาสีฟันอะไรดี? (ยาสีฟันสำหรับเด็ก ยาสีฟันเพิ่มฟลูออไรด์ป้องกันฟันผุ ยาสีฟันสูตรเกลือ)
2.Pattern Recognition วิธีนี้ถือเป็นการเชื่อมโยงระหว่างข้อมูลที่เคยมี หรือใช้ประสบการณ์ที่เคยเรียนรู้มาก่อน แล้วนำมาประยุกต์ใช้ในการแก้ไขปัญหาที่กำลังเผชิญให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยปกติรูปแบบของ pattern recognition นั้นจะเป็นการระบุความคล้ายคลึงกันและแนวโน้มที่คล้ายกันของปัญหา ซึ่งเราจะใช้ความรู้ที่เคยมีมาเหล่านี้เข้ามาช่วยในการแก้ไขปัญหา วิธีนี้ทำให้เด็กๆ ได้เรียนรู้การประยุกต์ใช้ความสามารถ ส่งเสริมให้เด็กๆ ได้เห็นความสำคัญของการเรียนรู้ผ่านความพยายาม และความอดทน ที่น่าสนใจไปกว่านั้นก็คือ หากเด็กๆ มีโอกาสสร้างทักษะ pattern recognition โดยผ่านการเรียน coding ซึ่งทำงานเป็นทีม จะทำให้เด็กแต่ละคนได้แชร์ประสบการณ์และปัญหาที่ตนเองเคยมีประสบการณ์มา เพื่อช่วยกันแก้ปัญหาหรือแก้โจทย์ที่ได้รับโดยใช้เทคนิคนี้อีกด้วย ได้ทั้งความสนุก ความกล้าแสดงออก การทำงานร่วมกันกับผู้อื่น รวมถึงสร้างความภาคภูมิใจได้อย่างดีเลยทีเดียว ถือว่า pattern recognition นั้นเป็นองค์ประกอบที่สำคัญในการสร้างแนวทางสำหรับการแก้ปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพ และช่วยประหยัดเวลาในการลองผิดลองถูกได้อีกด้วย
ตัวอย่างในชีวิตประจำวัน พวกเราประยุกต์ใช้ Pattern Recognition กันในชีวิตประจำวันอย่างมากมายแบบไม่รู้ตัว ลองนึกถึงการต่อประกอบเฟอร์นิเจอร์ IKEA ที่มักมีรูปแบบพื้นฐานในการเริ่มต้นที่คล้ายคลึงกัน ทำให้เราสามารถเริ่มต้นประกอบเฟอร์นิเจอร์ชิ้นถัดๆ ไปได้อย่างไม่ยากเย็นนัก เช่นเดียวกับการต่อ LEGO หรือแม้แต่หุ่นยนต์โมเดลของลูกรัก ซึ่งถึงแม้การเริ่มต้นครั้งแรกจะยากหน่อย แต่พอทำบ่อยๆ ก็เริ่มมีประสบการณ์ และรู้ว่าควรจะประกอบแบบไหนและเริ่มอย่างไร
ถึงแม้ Computational Thinking หรือ CT จะเป็นเรื่องใหม่ในไทย แต่ Beyond Code Academy ซึ่งเป็นสถาบันที่มีความเชี่ยวชาญในการสอนผ่านการ coding ตามแนวทาง Play Based Learning ก็มีทีมงานระดับคุณภาพ ซึ่งช่วยกันออกแบบและพัฒนาหลักสูตรโดยผู้เชี่ยวชาญซึ่งจบการศึกษาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ (Computer Engineer) จากมหาลัย top 5 ของโลก และเคยมีประสบการณ์ทำงานกับ Tech companies ชั้นนำ
โดยในแต่ละคลาสนั้นจัดเป็นคลาสเล็กๆ เพียง 4 – 6 คนเพื่อการดูแลอย่างทั่วถึง และเน้นการทำงานร่วมกัน รวมถึงนำเสนอบทเรียนผ่านกิจกรรมที่สนุกสนาน เหมาะกับเด็กวัยตั้งแต่ 4 ปีขึ้นไป ที่สำคัญคุณครูของเราได้ผ่านการอบรมทางด้านจิตวิทยาเด็ก (Psychology and Child Development course จาก Nanyang Technological University และ National Institute of Education) และมีความเชี่ยวชาญในการใช้เทคโนโลยีในการสอน โดยได้รับการรับรองเป็น Apple Teacher Swift Playgrounds Certificate และ Google Certified Educator Level 1 & 2 แล้วทุกท่าน มั่นใจได้ว่าเราพร้อมอย่างเต็มที่ในการช่วยพัฒนาให้เด็กๆ หัดใช้ทักษะชีวิตผ่านการ coding ได้อย่างแท้จริง
Reference
Comments