Game Design หรือการออกแบบเกม หากพูดถึงการจะออกแบบเกมให้ประสบความสำเร็จได้ ไม่ได้อยู่ที่ว่าสร้างเกมออกมาแล้วเล่นได้ แต่อยู่ที่ว่าผู้เล่นสนุกกับเกมที่เราออกแบบหรือไม่ด้วย ซึ่งการจะออกแบบเกมได้นั้นก็ต้องอาศัย 6 ส่วนหลักซึ่งคือ เนื้อเรื่อง อาร์ตเวริ์ค อินเตอร์เฟซ วิธีการเล่น การออกแบบระดับการเล่น และ เสียงประกอบ ก่อนอื่นเรามาทำความเข้าใจแต่ละส่วนกันก่อน
เนื้อเรื่อง
เนื้อเรื่อง เป็นส่วนประกอบที่สําคัญที่สุดส่วนหนึ่ง เนื่องจากเนื้อเรื่องเป็นการกําหนดของ องค์ประกอบทั้งหมดในเกมเข้าด้วยกัน ดังนั้นเนื้อเรื่องที่ดีควรทําให้ผู้เล่นเกิดความรู้สึกร่วมกับตัวละครโดยเราสามารถจิตนาการเนื้อเรื่องให้เหมือนกับว่าเรากำลังเขียนบทละครถ้าเนื้อเรื่องดีเกมก็จะน่าสนใจยิ่งขึ้น
อาร์ตเวิร์ก
อาร์ตเวิร์ก (Artwork) คือ การสร้างแนวคิด หรือรูปแบบ (theme) จากการออกแบบ ตัวละคร ฉากหลังยูนิตต่างๆ ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นหน้าที่ของผู้ออกแบบเกม เพื่อพัฒนาภาพรวม หรือ ความรู้สึกของเกม
อินเตอร์เฟซ
เกมดิจิตอลทั้งหมดนั้นล้วนใช้อินเตอร์เฟซเพื่อให้ผู้เล่นใช้งาน โดยทั่วไปในการเริ่มต้นเกม ผู้เล่นจะต้องทําการโหลดเกม และจะต้องหาจุดเริ่มต้นว่าควรเริ่มเล่นจากตรงไหน แล้วมีฟังก์ชั่นอะไรให้ ใช้ได้บ้าง อินเตอร์เฟซที่ดีจะต้องนําเสนอข้อมูลให้กับผู้เล่นได้ แม้ในขณะที่กําลังเล่นเกมอยู่โดยปกตินั้น เกมส่วนมากจะใช้ Graphical User Interface หรือ GUI อยู่ด้านบนของจอ
วิธีการเล่นเกม
เป็นปัจจัยที่สําคัญในขั้นตอนการออกแบบ ซึ่งมักเป็นโอกาสที่ดีที่จะนําเสนอ ความคิดของวิธีเล่น เพื่อให้เกิดแนวเกมใหม่ๆ ที่มีความแตกต่าง หรือแม้แต่การพัฒนาสิ่งใหม่ๆ ขึ้นมาทั้งหมด ให้ต่างออกไปจากเกมที่เคยมีมากก่อน เพื่อให้ผู้เล่นได้สัมผัสประสบการเล่นใหม่ๆ เช่น เกม Angry Bird เป็นเกมที่นําเสนอวิธีการเล่นโดยการยิงตัวละครแบบวิถีแบบโปรเจ็กไตล์ (Projectile) ตามหลักการทางฟิสิกส์
การออกแบบระดับการเล่น (Level Design)
เกมที่ดีควรจะมีการเพิ่มระดับความยากแบบค่อยเป็นค่อยไป เพื่อทําให้ผู้เล่นไม่รู้สึกว่ายาก เกินไป โดยจะต้องออกแบบเนื้อเรื่องสัมพันธ์กันเพื่อให้เกิดความท้าทายกับผู้เล่น
เสียงประกอบ
เสียง เป็นสิ่งประกอบที่ทําให้ผู้เล่นเกมอารมณ์ร่วมในการเล่นมากยิ่งขึ้น เช่น เสียงประกอบฉากเกมแนวผจญภัย เสียงขณะยิงกระสุน เป็นต้น
ซึ่งในการสร้างเกมผู้สร้างก็ต้องใช้องค์ประกอบเหล่านี้มาเป็นส่วนประกอบในการสร้าง เราจึงนำ Game Design มาทำเป็นกระบวนการเรียนรู้เรียกว่า “Learning Game Design” ผ่านการลงมือทำจริง (Learning by doing)
น้องๆหลายคนประสบปัญหาเบื่อ สื่อการสอนแบบเดิมๆไม่สนุกเนื่องจากในยุคปัจจุบันน้องๆโตมาพร้อมกับสื่อเทคโนโลยีที่เข้ามาจากหลากหลายช่องทางการเรียนรู้รู้แบบนี้จึงทำให้การนั่งเรียนในห้องมาเปลี่ยนให้เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญหรือเรียกว่า “Fliped classroom” เพื่อตอบโจทย์การเรียนรู้ของเด็กยุคใหม่
การเรียนรู้ของเด็กยุคใหม่
ชอบสิ่งที่น่าสนใต
ชอบสำรวจ
ชอบทดลอง
เรียนรู้ผ่านการทดลองจริง
ซึ่งสิ่งเหล่านี้เขาจะได้จากเกมที่ได้ทั้ง 3F คือ Feel , Find และ Fun
เรียน Game Design ที่ Beyond Code Academy
Roblox Game Developer (9+)
หลักสูตรของเราเน้นการสอนเขียนโค้ดผ่านการทำโปรเจค คอร์สนี้ถูกพัฒนาบนพื้นฐานของ Play-based Learning หรือการเรียนรู้ผ่านการเล่น เราเชื่อว่าการเรียนรู้ที่ดีที่สุดนั้นคือการเรียนรู้ผ่านกิจกรรมที่น้องรู้สึกสนุก น้องๆจะได้เรียนรู้การเขียน Code พร้อมกับสนุกไปกับเกมที่น้องชื่นชอบอย่าง Roblox ในแต่ละคลาสคุณครูจะสอดแทรกเนื้อหาเกี่ยวกับ Game Design เพื่อสร้างเกมที่สนุกและน่าตื่นเต้น
สิ่งที่น้องจะได้รับ
-เข้าใจพื้นฐานคอนเซ็ปของการเขียนโปรแกรม
-เรียนรู้การแก้ไขปัญหาด้วย Pseudo Code
-เรียนรู้ภาษา Lua
-เรียนรู้ทักษะการแก้ไขปัญหาและคิดอย่างเป็นระบบผ่านกระบวนการ Test & Debug
-การใช้งาน Roblox Studio ในการสร้างเกม
สนุก ไม่เบื่อแน่นอนน เพราะเราใช้วิธีการสอนแบบเฉพาะ Beyond Code Academy เท่านั้น
“เราเชื่อว่าการสอนที่ดีที่สุดคือ การสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ให้ใกล้เคียงกับชีวิตจริง การสอนนั้นต้องยั่งยืน ไม่ยึดติดกับการท่องจำ ฝึกให้เด็กๆมี Adaptable & Curious Mindset สามารถเรียนรู้ได้เองเมื่อเจอปัญหาใหม่ที่ท้าทาย รู้จักบริหารความเสี่ยง (Calculated Risk Taking) กล้าที่จะลองผิดลองถูก และ เรียนรู้จากความผิดพลาดตลอดเวลา ทักษะและทัศนคติเหล่านี้เป็นรากฐานเพื่อเตรียมความพร้อมสู่โลกแห่งการเปลี่ยนแปลงในอนาคต และ เติบโตอย่างมีความสุข”
ทุกหลักสูตรดูแลการสอนโดย Software Engineer จบจากมหาลัยชั้นนำของโลก
รายละเอียดเพิ่มเติม
คลิ๊กhttps://www.beyondcodeacademy.com/roblox-game-developer-online-coding
สนใจสมัครเรียนหรือขอคำปรึกษา ติดต่อเราได้ที่
Facebook Inbox
โทร: 09-9414-9777
Line: @beyondcode (https://lin.ee/yYW32sz)
Learning Game Design กระบวนการออกแบบเพื่อการเรียนรู้
Comments