มารู้จักหลักคิดของ การเรียนผ่านการเล่น (Play-Based Learning) กัน
top of page

มารู้จักหลักคิดของ การเรียนผ่านการเล่น (Play-Based Learning) กัน


 


 

หลายๆท่านคงตีความคำว่า “เล่น” ในทางลบกันใช่ไหมคะ? แต่ล่าสุด งานวิจัยจากมหาวิทยาลัยดีคิน (Deakin University) ประเทศออสเตรเลีย ได้ทำการศึกษาว่า กระบวนการสอนที่เหมาะสมที่สุดกับน้องๆคือ Play-Based Learning หรือ กระบวนการเรียนรู้ผ่านการเล่น

.

การเรียนผ่านการเล่น (Play-Based Learning) คืออะไร?

.

การเรียนผ่านการเล่น (Play-Based Learning) เป็นการเรียนการที่เน้นไปที่การสอนและการเรียนรู้โดยความหมายของ “การเล่น” คือการเล่นอย่างอิสระให้น้องๆเป็นคนเริ่มกิจกรรมต่างๆด้วยตนเองโดยคุณครูจะไม่ใช่ผู้ที่ชี้นำแต่จะเป็นผู้ร่วมเล่น (Co-player) ที่ทำหน้าที่ตั้งคำถามเพื่อขยายขอบเขตความคิดของน้องๆให้กว้างขึ้นค่ะ

.

“ธรรมชาติของเด็กๆ มักได้รับแรงกระตุ้นผ่านการเล่น คุณครูสามารถตั้งคำถามเพื่อส่งเสริมให้เด็กๆแก้ปัญหาร่วมกับการเรียนผ่านการลงมือปฏิบัติจริง (Learning by Doing)” นาตาลี โรเบิร์ตสัน (Natalie Robertson) อาจารย์ด้านการศึกษาปฐมวัยและหนึ่งในทีมวิจัย อธิบายถึงสาเหตุว่าทำไมเด็กๆควรเรียนรู้ผ่านกระบวนการ Play-Based Learning

.

ต่างจากการเรียนแบบเดิมอย่างไร?

.

การเรียนแบบเดิมคือการเรียนการสอนแบบทางตรง (Direct-Instruction Approach) คุณครูจะเป็นศูนย์กลาง การเรียนแบบนี้อาจจะปิดกั้นความคิดของน้องๆ ซึ่งจะตรงกันข้ามกระบวนการเรียนรู้อย่าง Play-Based Learning ที่น้องๆแก้ปัญหาด้วยตนเองโดยมีคุณครูเป็นที่ปรึกษาและตั้งคำถามเพื่อให้น้องๆต่อยอดการเรียนรู้

.

.

สิ่งที่น้องๆจะได้จากการเรียนผ่านการเล่นมาจาก 4 หลักคิดนี้เลยค่ะ

.

✔️การมีส่วนร่วม (Engagement)

การเรียนผ่านการเล่นจะช่วยยกระดับการเรียนรู้ของน้องๆผ่านประสบการณ์ที่น้องได้ปฏิบัติจริง ซึ่งต้องใช้คำถามเชิงกลยุทธ์ของผู้สอนเป็นแรงจูงใจเพื่อกระตุ้นให้น้องๆสนใจ และเกิดความสงสัยอยากรู้ในสิ่งที่ตนเองกำลังเรียนรู้ ซึ่งจะส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการหาความรู้ระหว่างน้องๆและคุณครูหรือแม้แต่กับเพื่อนๆในห้อง ในส่วนนี้จะปลูกฝังให้น้องๆมีทักษะทางสังคมที่ดีด้วยค่ะ

.

✔️การพัฒนาตนเอง (Self-Development)

.

เนื่องจากน้องๆต้องเรียนรู้ผ่านการลงมือทำจริง ซึ่งเกิดจากความสนใจของตนเอง ดังนั้นในส่วนนี้น้องๆจะได้พัฒนาทักษะการเรียนรู้ของตนเองอยู่ตลอดซึ่งส่งผลให้น้องๆต้องพัฒนาทักษะในการพัฒนาตนเองไปในตัวค่ะ

.

การริเริ่มคิดสิ่งใหม่ (Innovative Skills)

.

จากการที่ผู้สอนหรือคุณครูกระตุ้นให้น้องๆเกิดการเรียนรู้ พัฒนาตนเองให้สอดคล้องกับการเรียนรู้ทำให้น้องๆต้องนำความรู้เดิมมาต่อยอดให้เกิดสิ่งใหม่ซึ่งส่วนนี้เป็นส่วนให้พัฒนาความคิดริเริ่มให้เกิดสิ่งใหม่กับน้องๆได้ค่ะ

.

การสะท้อนคิดการเรียนรู้ (Reflection)

.

การสะท้อนคิดการเรียนรู้ หรือ Reflection เป็นการกระตุ้นให้น้องๆสะท้อนความคิดและแบ่งปันการเรียนรู้รวมถึงสรุปการเรียนรู้ที่ผ่านมาเพื่อนำไปต่อยอดในการเรียนรู้ครั้งถัดไปของตนเอง

.

ด้วยหลักคิดแบบนี้จึงทำให้ Play-Based Learning ช่วยส่งเสริมพัฒนาการทางด้านการเรียนรู้ทางวิชาการของน้องๆได้ดีขึ้น และต่อยอดให้กับอนาคตทางการศึกษาของพวกเขา ทั้งยังเป็นทักษะการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับศตวรรษที่ 21 อีกด้วย

.


 

สนใจสมัครเรียนหรือขอคำปรึกษา ติดต่อเราได้ที่

.

Facebook Inbox

โทร: 09-9414-9777

Line: @beyondcode (https://lin.ee/yYW32sz)




bottom of page